Monday, October 1, 2012

มะม่วงน้ำดอกไม้

มะม่วงน้ำดอกไม้

มะม่วงน้ำดอกไม้
          มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นมะม่วงประเภทรับประทานสุก มีผู้นิยมปลูกกันมาก มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ใบใหญ่เป็นคลื่น ทรงพุ่มโปร่ง ส่วนมากมีนิสัยในการออกดอกทะวาย ออกดอกดก ติดผลปานกลาง ให้ผลทุกปี ผลมีขนาดใหญ่ หนักประมาณ 400 กรัม ผลอ้วนเกือบกลมหัวใหญ่ปลายแหลม ผลค่อนข้างยาว เนื้อมาก เมล็ดเล็ก มีผิวบาง เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ผิวสีเขียวนวล เนื้อแน่น เมื่อผลสุกมีผิวสีเหลือง กลิ่นหอม เนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อย รสหวาน
          มะม่วงน้ำดอกไม้มีเปลือกบางจึงช้ำได้ง่าย และไม่ค่อยต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนส อายุตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่ประมาณ 115 วัน
          มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นมะม่วงที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ออกดอกง่าย สามารถตอบสนองต่อการบังคับให้ออกก่อนฤดูได้เป็นอย่างดี และเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ
          พันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง

ทรงพุ่มของมะม่วงน้ำดอกไม้

มะม่วงน้ำดอกไม้ที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว

หลังจากการเก็บเกี่ยว

มะม่วงป่า

 มะม่วงป่า


  มะม่วงป่า

เลขทะเบียน :     7-53000-001-0162
ชื่อสามัญ :     -
ชื่อพื้นเมือง :     มะม่วงป่า,มะม่วงพรวน,มะม่วงเทพรส
ชื่อวิทยาศาสตร์ :     Mangifera coloneura    Kurz
ชื่อวงศ์ :     ANACARDIACEAE
ลักษณะ
ต้น :     ลำต้นตั้งตรง สูงตั้งแต่ 5 - 24 เมตร พุ่มกว้าง 5 - 35 เมตร สีของลำต้นเมื่ออ่อนจะมีสีน้ำตาลปนเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีเทา แตกเป็นสะเก็ด
ใบ :     เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบอ่อนสีน้ำตาลปนแดงเขียว ใบแก่เขียวแก่ กว้าง 3 .5 - 9 เซนติเมตร ยาว 12 - 38 เซนติเมตรการเรียงตัวเรียงสลับ
ดอก :     ดอกสีขาว หรือ เหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงแยก 4-5 กลีบ มีกลิ่นหอม
ผล :     ผลมีเนื้อเมื่อดิบจะมีสีเขียวผลแก่จะมีสีเหลือง รสชาดแต่ละพันธุ์จะแตกต่าง เปรี้ยว หวานมัน กรอบ
เมล็ด :     มีลักษณะแบน สีขาวหรือเหลือง
การกระจายพันธุ์
     พบทั่วทุกภาค
การขยายพันธุ์
     ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดทาบกิ่ง การติดต่อ ต่อกิ่ง หรือ การเปลี่ยนยอด
ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร :     ผลอ่อนมีวิตามินซีป้องกันโรคผลสุก ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง และต้านความชรา
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย :     ใบอ่อนใช้เป็นผักสด
เอกสารอ้างอิง    วีณา เชิดบุญชาติ. 2545 . ปลูกผักไทยได้ทั้งอาหารและยา . กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด.
ผู้สำรวจ    นางสาววิไลกรณ์แก้วก่ำ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์วันที่ศึกษา 19 กุมภาพันธ์2543
ผู้ตรวจ    อาจารย์ฟองจันทร์บุญญานุภาพ

มะม่วง ผลไม้สารพัดประโยชน์

มะม่วง ผลไม้สารพัดประโยชน์

 

ประโยชน์ ของมะม่วง


MANGO
คุณค่าของมะม่วง

มะม่วง เป็นผลไม้ที่ทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก                                    
ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของมะม่วง นั้นมีมากมาย ดังนี้    
     
-ไฟเบอร์ ช่วยในการย่อยอาหาร และเผาผลาญพลังงาน           
-วิตามิน เอ ซี และอี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ                              

-โปแตสเซียม และทองแดง ช่วยให้ร่างกาย
ทำงานเป็นปกติ ปรับสมดุลภายใน

-สารฟลาโวนอยด์ กำจัดไขมันในเลือดได้
-สารไตรเทอปีน ต้านการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก                                       
และ มะเร็งผิวหนัง
-กรดอะมิโนทริปโตเแฟน ช่วยให้ร่างการหลั่งฮอร์โมน
โน เซโรโทนิน ทำให้ผ่อนคลาย และหลับสบ
าย

 

โรคของมะม่วง





โรคของมะม่วง

สุชาติ  วิจิตรานนท์, ขจรศักดิ์  ภวกุล  นักวิชาการโรคพืช  กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร
ดารา  พวงสุวรรณ  ผู้อำนวยการกองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร
โดยทั่วไปแล้ว มะม่วงเป็นพืชที่ค่อนข้างทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคพืชหลายชนิด  และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ผันแปรอย่างรวดเร็วได้ดีพอสมควร  แต่ในเรื่องของปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงแล้ว  มีโรคพืชหลายชนิดที่ทำลายความเสียหายโดยทำให้ผลผลิตลดลงหรือไม่มีผลผลิตเลย  และทำให้คุณภาพของผลผลิตไม่เป็นไปตามที่ตลาดต้องการ  ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ  และนอกเหนือจากนั้นยังเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการผลิตมะม่วง เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ หากปัญหาโรคต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ได้รับการเอาใจใส่  และแก้ไขอย่างถูกวิธี  สำหรับโรคของมะม่วงเท่าทีพบในประเทศไทยก็มีอยู่มากมายหลายชนิด  บางชนิดก็ทำความเสียหายให้อย่างรุนแรง  บางชนิดก็ไม่ทำความเสียหายมากนัก  ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
1.  โรคแอนแทรคโนส
โรคแอนแทรคโนสเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของมะม่วง  ทำความเสียหายต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงเป็นอย่างมาก สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. ซึ่งสามารถเข้าทำลายได้เกือบทุกส่วนของมะม่วงไม่ว่าจะเป็นต้นกล้ายอดอ่อน  ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังเก็บเกี่ยว  เชื้อราชนิดนี้นอกจากจะทำความเสียหายกับมะม่วงแล้ว  ยังสามารถทำให้เกิดโรคกับพืชอื่นได้อีกหลายชนิด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา องุ่น เป็นต้น  จึงทำให้มีการระบาดของโรคอย่างกว้างขวางในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศ  โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน  ซึ่งมีความชื้นสูงและมีอุณหภูมิที่เหมาะสมระหว่าง 24-32 องศาเซลเซียส  เชื้อรามีสาเหตุทำให้เกิดอาการอย่างน้อยก็เป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใน กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรครุนแรงก็จะทำให้เกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยว และร่วงหล่น  ช่อดอกแห้ง ไม่ติดผล ผลเน่าร่วง ตลอดจนผลเน่าหลังเก็บเกี่ยว  ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อการส่งมะม่วงไปจำหน่ายต่างประเทศ  หากไม่ได้รับการดูแลรักษาไม่ให้เชื้อโรคติดไปกับผลผลิต
ลักษณะอาการ
ในระยะกล้า จะพบอาการของโรคได้ทั้งที่ใบและลำต้น  ซึ่งทำความเสียหายให้กับการผลิตมะม่วงกิ่งทาบเป็นการค้ามาก  เพราะต้นกล้าที่เป็นโรคจะอ่อนแอหรือตายไปไม่สามารถจะใช้ทำเป็นต้นตอได้  อาการบนใบเริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบอ่อน มองดูใสกว่าเนื้อใบรอบ ๆ จุดนี้ จะขยายออกเป็นวงขนาดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความชื้นและความแก่อ่อนของใบ  โดยจะเห็นขอบแผลชัดเจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม  ในสภาพความชื้นสูง  แผลที่เกิดบนใบอ่อนมาก ๆ จะมีขนาดใหญ่  ขยายออกได้รวดเร็ว และมีจำนวนแผลมากติดต่อกันทั้งผืนใบ  ทำให้ใบแห้งทั้งใบ  หรือใบบิดเบี้ยวเมื่อแก่ขึ้น เพราะเนื้อที่ใบบางส่วนถูกทำลายด้วยโรคในสภาพที่อุณหภูมิและความชื้นไม่ เหมาะสม และบนใบจะมีลักษณะเป็นจุดขนาดเล็ก กระจัดกระจายทั่วไป  บริเวณกลางแผลซึ่งมีสีน้ำตาลอ่อนกว่าขอบแผล  และมีลักษณะบางกว่าเนื้อใบ อาจจะฉีกขาดและหลุดออก เมื่อถูกน้ำทำให้แผลมีลักษณะเป็นรู คล้ายถูกยิ่งด้วยกระสุนปืน  ส่วนอาการที่ลำต้นอ่อนจะเป็นแผลสีค่อนข้างดำ  ลักษณะแผลเป็นรูปไข่ ยาวไปตามความยาวของลำต้น หากอาการโรครุนแรงและต้นกล้าอ่อนมาก ๆ แผลจะขยายอย่างรวดเร็วจนกระทั่งรอบลำต้น ทำให้ต้นแห้งตาย แต่ถ้าต้นกล้าเป็นโรคเมื่อเนื้อเยื่อเริ่มแก่แก้ว  แผลก็อาจจะลุกลามไปได้ไม่มากนัก  จะเป็นจุดแผลมีลักษณะเป็นวงรี สีดำ ยุบตัวลงไปเล็กน้อยบริเวณกลางแผลจะเห็นเม็ดสีดำ ๆ หรือสีส้มปนบ้างเรียงเป็นวง ๆ อยู่ภายในแผล  ซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุต้นกล้าที่เป็นโรคจะอ่อนแอ เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่  หรืออาจตายไปในที่สุด  ถ้าโรคนี้เกิดกับยอดอ่อนก็จะทำให้ยอดแห้งเป็นสีน้ำตาลดำ และอาจตายทั้งต้นได้เช่นเดียวกัน

ในระยะต้นโต เชื้อโรคจะเข้าทำลายได้รับใบอ่อน ยอดอ่อน หรือช่อดอก โดยจะทำให้เกิดลักษณะอาการคล้าย ๆ กับที่ร่วงหล่น  ผลที่มีขนาดโตขึ้นแต่ยังไม่แก่ก็เป็นโรคได้เช่นเดียวกัน  หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม  กล่าวคือมีความชื้นสูง และอุณหภูมิพอเหมาะ(24-32 องศาเซลเซียส) ลักษณะอาการบนผลจะเป็นจุดสีดำ  รูปร่างกลม หรือรี ขนาดอาจจะพบรอยแตก  และมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำเรียงรายเป็นวงภายในแผล  ซึ่งอาการจุดบนผลนี้ ชาวสวนมะม่วงแถบบางคล้าเรียกว่าโรค “โอเตี้ยม” ซึ่งหมายถึงจุดสีดำเมื่อมะม่วงเริ่มแก่  ในระหว่างการบ่มหรือการขนส่ง  จุดแผลเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้น และลุกลามออกไปทำให้ผลเน่าทั้งผลได้  อาการจุดเน่าดำบนผลนี้พบทำความเสียหายกับมะม่วงเกือบทุกพันธุ์  หากมีสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม  โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง  สำหรับภาคกลางเช่นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา มักจะมีฝนตกนอกฤดูในราวเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม  ซึ่งเป็นช่วงที่มะม่วงใกล้แก่  หากเกษตรกรไม่ได้พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชทันท่วงที ก็จะทำให้ผลผลิตมะม่วงได้รับความเสียหายจากโรค  ผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราโรคแอนแทรคโนสอย่างรุนแรง  นอกจากนี้แล้ว  เชื้อราโรคแอนแทรคโนส  ยังสามารถติดอยู่กับผลได้โดยไม่ทำให้เกิดลักษณะอาการหากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะ สม  และจะไปแสดงอาการเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ผลสุก หรือมีความชื้นสูงในระหว่างการเก็บรักษาหรือในหีบห่อที่บรรจุเพื่อการขนส่ง  เป็นต้น  ซึ่งก็ทำความเสียหายเป็นอย่างมากได้เช่นเดียวกัน

การป้องกันกำจัด
โรคแอนแทรคโนสสามารถป้องกันกำจัดได้โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชหลาย ชนิด ซึ่งการใช้สารเคมีเป็นวิธีการเดียวที่จะลดความเสียหายจากโรคนี้ได้อย่างรวด เร็ว  และทันต่อเหตุการณ์ ถึงแม้ว่ามะม่วงแต่ละพันธุ์จะมีปฏิกิริยาต่อการเกิดโรคแอนแทรคโนสแตกต่างกัน ออกไปบ้างก็ตาม แต่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแล้ว  เชื้อราสามารถเข้าทำลายทำความเสียหายต่อใบ ดอก และผลของมะม่วงที่ปลูกเป็นการค้าได้ทุกพันธุ์  และการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชนั้น  จะต้องใช้ให้ถูกกับจังหวะการเข้าทำลายของเชื้อโรค  ทั้งนี้  เพื่อลดความสิ้นเปลืองและช่วยให้สารเคมีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การฉีดพ่นในช่วงที่มะม่วงเริ่มแตกใบอ่อน  ในช่วงการออกดอกและติดผล  ซึ่งเป็นช่วงที่มะม่วงมีความอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคเป็นต้น  สารป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด  สามารถนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เบนโนมิล(benomyl), คอปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์(copper oxychloride) เป็นต้น  ซึ่งการเลือกใช้สารชนิดใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เกิดในแต่ละสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน สารเคมีประเภทดูดซึม  เช่น  เบนโนมิล(benomyl) อาจจะใช้ได้ดีกว่าในการฉีดพ่นในช่วงที่มีฝนชุก  หรือในช่วงผลใกล้เก็บเกี่ยว เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวด้วย  นอกจากนี้  ช่วงเวลาการฉีดพ่นของสารเคมีประเภทดูดซึม จะนานกว่าการใช้สารเคมีประเภทสัมผัส (contact หรือ conventional) ซึ่งช่วงเวลาการฉีดพ่นสารเคมีโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 10-15 วัน
การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสสำหรับมะม่วงที่จะผลิตเพื่อการส่งออกนั้น จะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอโดยในช่วงที่มะม่วงผลิใบอ่อนในฤดูฝน  การฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสที่ใบสำหรับแหล่งที่มีโรคแอนแทรคโน สระบาดเป็นประจำเพื่อลดความเสียหายจากการเกิดโรคที่ใบ  อันจะมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของใบและจะมีผลต่อการออกดอก  ติดผลที่สมบูรณ์ต่อไป  นอกจากนั้นยังเป็นการลดปริมาณเชื้อราโรคแอนแทรคโนสในแปลงปลูกได้เป็นอย่างดี การตัดแต่งกิ่งเป็นโรคและกิ่งอ่อนที่เกิดตามโคนกิ่งใหญ่ในทรงพุ่ม  ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคเผาทำลายเสีย  ก็เป็นการลดปริมาณเชื้อโรคได้อีกวิธีหนึ่ง
ก่อนที่มะม่วงจะเริ่มแทงช่อดอก ควรทาการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืชครั้งหนึ่ง  เพื่อลดปริมาณแมลงและโรคที่จะมารบกวนช่อดอกใหม่ที่เริ่มผลิ  หลังจากนั้นควรทำการฉีดพ่นเป็นระยะ ๆ ทุก 10-15 วัน จนกระทั่งมะม่วงติดผลอ่อน ในระหว่างที่ผลมะม่วงกำลังเจริญเติบโตระยะเวลาการฉีดพ่นสารเคมีอาจจะนาน ขึ้น  ซึ่งขึ้นกับแหล่งปลูกที่มีการระบาดของโรคแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศ และสภาพการปลูกถี่ปลูกห่าง  ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 14-15 วัน  ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึม  เช่น เบนโนมิล(benomyl) อีกครั้งหนึ่ง  จะช่วยลดความเสียหายจากการเกิดผลเน่าหลังเก็บเกี่ยวได้เป็นอย่างดี
ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีประเภทดูดซึมชนิดที่ใช้เฉพาะกลุ่มเชื้อ เช่น เบนโนมิล(benomyl) นั้นไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ เพราะเชื้อรามีโอกาสที่จะสร้างความต้านทานต่อสารเคมีได้ง่าย  ดังนั้นในการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคในช่วงออกดอกติดผลมะม่วงนั้น  ควรใช้สารเคมีชนิดอื่น ฉีดพ่นสลับกันบ้างตามความเหมาะสม  เช่น ระยะดอก อาจจะใช้ แมนโคเซบ(mancozeb)หรือ เบนโนมิล(benomyl) ระยะติดผลอ่อนใช้ แคปแทน(captan)หรือ คอปเปอร์ฟังจิไซด์(copper fungicides) ระยะผลโตใช้ เบนโนมิล (benomyl) เป็นต้น

2.  โรคราแป้ง
โรคราแป้งของมะม่วง เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่ง พบระบาดทั่ว ๆ ไปในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศต่าง ๆทั่วโลกในประเทศไทยส่วนใหญ่พบเป็นกับมะม่วงที่ปลูกในที่สูงบริเวณภาคเหนือ ของประเทศไทย โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae Benthet  ซึ่งสามารถเข้าทำลายได้ทั้งที่ใบ ดอก ช่อดอกและผลอ่อน แต่บริเวณที่ราบภาคเหนือ  ภาคกลาง ภาคตะวันออก นั้นพบอาการของโรคที่ดอกและผลเท่านั้นไม่พบลักษณะอาการบนใบเลย

ลักษณะอาการ
อาการเริ่มแรกจะเกิดที่ใบอ่อน  จะเห็นบริเวณที่เชื้อราเข้าทำลายจะมีสีผิดปกติไปจากสีของเนื้อใบเล็กน้อย  ถ้าสังเกตดูจะเห็นลักษณะผงสีขาวขึ้นบาง ๆ ส่วนใหญ่จะพบใต้ใบ  อาการต่อมาบริเวณที่เป็นโรคจะมีสีเหลืองจาง ๆ ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมจะเป็นผงสีขาว ๆ ชัดเจนขึ้น หลังจากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเข้มขึ้นตามลำดับ  ซึ่งใบก็จะเริ่มแก่มีสีเขียวเข้มตัดกับบริเวณเป็นโรคซึ่งมีสีน้ำตาลแก่ ในระยะนี้อาจจะเห็นผงสีขาวใต้ใบหรือบนใบแต่จะไม่ขึ้นฟูเหมือนในระยะใบอ่อน  ถ้าเกิดโรครุนแรงใบที่เป็นโรคอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงไป
อาการที่ช่อดอก  จะเห็นผงสีขาวขึ้นฟู ตามก้านชูดอกและก้านช่อดอกย่อย  และดอกซึ่งจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดผล  ส่วนของก้านช่อดอกจะยังคงมีสีขาวปกคลุม  ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ โรคนี้มักจะพบในช่วงฤดูหนาวเมื่อมะม่วงเริ่มออกดอก  ในราวเดือนธันวาคม  มกราคม แต่อาจจะพบอาการของโรคได้จนถึงเดือนเมษายน  ซึ่งช่อดอกที่เป็นโรคนี้มักจะไม่ติดผลและมักจะพบเป็นกับช่อดอกที่อยู่บริเวณ ตอนล่างหรือกลาง ๆ ลำต้น  หรือช่อดอก ที่อยู่ในพุ่มใบสำหรับในบ้านเราจะพบอาการโรคราแป้งที่เกิดบนใบเฉพาะมะม่วง ที่ปลูกในที่สูงมาก ๆ ส่วนในพื้นที่ราบจะพบเพียงแต่ระบาดทำลายในช่วงออกดอกติดผลอ่อนเท่านั้น

การป้องกันกำจัด
สารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ได้แก่ กำมะถันผล, ไดโนแคป(dinocap), เบนโนมิล (benomyl) ไตรอะไดเมฟอน (triadimefon) ฯลฯ การป้องกันกำจัดโรคราแป้งที่ระบาดในระยะมะม่วงออกดอกทำได้โดยการฉีดพ่นสาร เคมีในช่วงที่ดอกยังไม่บานครั้งหนึ่ง  สำหรับกำมะถันผง ควรจะฉีดพ่นในตอนเช้าขณะที่แดดยังไม่ร้อนจัด  หากยังมีโรคระบาดอยู่ ก็ควรฉีดอีกครั้ง  ในระยะติดผลอ่อน
3.  โรคราดำ
โรคราดำเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของมะม่วง  พบทั่ว ๆ ไปในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศ  ราดำที่จะกล่าวถึงนี้มีหลายชนิดด้วยกัน  แต่ในบ้านเราเท่าที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป คือ ชนิดที่ขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีดำซึ่งเมื่อแห้งอาจจะร่อนหลุดออกเป็นแผ่น ๆ อีกชนิดหนึ่งขึ้นบนใบมีลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉก ๆ ราดำเหล่านี้ไม่ได้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยตรงแต่อาจมีผลต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่มะม่วงออกดอกหากมีราดำขึ้นปกคลุมดอก  ก็จะเป็นผลให้การผสมเกสรของดอกไม่สามารถจะเกิดขึ้น  เนื่องจากมีเชื้อราขึ้นปกคลุมปลายเกสรตัวเมีย
ปกติแล้วราดำมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในอากาศแต่ไม่สามารถจะเจริญขึ้นบนใบหรือช่อดอกมะม่วงได้หากไม่มีแมลงพวก ปากดูด  อันได้แก่  เพลี้ยจั๊กจั่น  หรือแมงกะอ้า  ซึ่งเป็นตัวสำคัญ  เพราะแมลงพวกนี้จะขยายพันธุ์เป็นจำนวนมากในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูที่มะม่วง กำลังออกดอก  แมลงดังกล่าวนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช เช่น ตามยอดอ่อนและช่อดอก  แล้วจะถ่ายสารซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำหวานออกมาฟุ้งกระจายไปเคลือบตามบริเวณใบ และช่อดอก  ซึ่งเชื้อราดำในอากาศก็จะสามารถขึ้นได้และทำให้การติดดอกออกผลของมะม่วงลดลง หรือไม่ติดผลเลย
นอกจากแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นแล้ว ยังมีแมลงอื่นที่สามารถดูดกินและถ่ายน้ำหวานออกมา เช่น เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง

การป้องกันกำจัด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้น  การป้องกันกำจัด จึงควรป้องกันกำจัดแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นหรือแมงกะอ้า  ในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอกการที่จะสังเกตว่าต้นมะม่วงในสวนมีแมลงพวกเพ ลี้ยจั๊กจั่นทำลายหรือไม่  อาจจะทำได้โดยการเดินเข้าไปใต้พุ่มมะม่วง  หากได้ยินเสียงคล้ายฝนตก ซึ่งคือเสียงที่แมลงพวกนี้ตื่นตกใจกระโดดไปเกาะยังที่อื่น ก็แสดงว่ามีแมลงพวกนี้อยู่มาก  ยาที่ใช้ได้ดีในการป้องกันกำจัดแมลงพวกนี้ได้แก่ คาร์บาริล(carbaryl) 85% WP ซึ่งควรที่จะทำการป้องกันกำจัดแมลงนี้ในช่วงก่อนที่มะม่วงจะออกดอกครั้ง หนึ่งก่อน  หากยังมีการทำลายของแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นอีก  ก็ควรฉีดพ่นอีกครั้งในระยะดอกตูม

4. โรคใบจุดสนิม
โรคใบจุดสนิม  เป็นโรคที่พบได้ทั่ว ๆ ไปในมะม่วงที่ปลูกในแหล่งที่มีความชุ่มชื้นสูง เช่น ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ และมักจะพบในมะม่วงที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา  สาเหตุของโรคคือสาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Cephaleuros virescens Kunze ซึ่งสามารถขึ้นได้บนใบและกิ่ง  นอกจากมะม่วงแล้วยังสามารถขึ้นได้บนใบพืชได้อีกหลายชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ ฝรั่ง ส้ม

ลักษณะอาการ
เริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายดาวขึ้นบนหน้าใบใบ  มีลักษณะสีเขียวปนเทา  ซึ่งจะขยายใหญ่ขึ้นและจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ายสนิม  ซึ่งเป็นระยะที่สาหร่ายพวกนี้สร้างอวัยวะขยายพันธุ์  ซึ่งจะแพร่ระบาดไปยังใบอื่นได้  เนื่องจากสาหร่ายเป็นพืชขนาดเล็กที่ต้องการแสงแดดและความชื้นสูง  ดังนั้น  อาการของโรคจึงมักจะเกิดบนใบหรือกิ่งที่ได้รับแสงแดดเสมอ
โรคนี้ปกติจะไม่ทำความเสียหายให้กับมะม่วงมากนัก  นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทั่วถึงสำหรับการ ป้องกันกำจัด  หากระบาดรุนแรงควรฉีดพ่นด้วยสารประกอบพวกทองแดง เช่น คอปเปอร์อ๊ออกซี่คลอไรด์(copper oxychloride)

5. โรคราสีชมพู
โรคราสีชมพูเป็นโรคหนึ่งที่ทำความเสียหายให้กับมะม่วงที่ปลูกในแถบที่มี อากาศชุ่มชื้นหรือในสวนมะม่วงที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา  โรคนี้จะเข้าทำลายบริเวณกิ่งทำให้กิ่งแห้ง  ใบเหลือง เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor Berk et Br. ซึ่งเชื้อราพวกนี้สามารถทำลายพืชอื่นได้หลายชนิด เช่น ส้ม ทุเรียน ขนุน ยางและกาแฟ

ลักษณะอาการ
ส่วนใหญ่จะสังเกตเห็นอาการเมื่อใบเหลือง หรือร่วงแล้ว ถ้าตรวจดูตามกิ่งที่ใบร่วงนั้นจะเห็นเชื้อราสีขาวมีลักษณะเป็นผง ๆ ขึ้นตามกิ่ง เมื่อเฉือนเปลือกออกบาง ๆ จะเห็นว่าบริเวณเปลือกที่มีราขึ้น ทำลายนั้นจะเป็นสีน้ำตาล  ซึ่งถ้าเชื้อราเจริญรอบกิ่งก็จะทำให้กิ่งแห้งตายในที่สุด  เชื้อราสีขาวจะค่อย ๆ แก่ขึ้นจนเห็นมีลักษณะสีชมพูปนอยู่

การป้องกันกำจัด
โดยการตัดกิ่งที่เป็นโรคทิ้งทำลายเสีย  การตัดแต่งกิ่งมะม่วงเอากิ่งย่อยที่อยู่ในทรงพุ่มออก  ทำให้ทรงพุ่มต้นมะม่วงโปร่ง ปริมาณความชื้นในทรงพุ่มก็จะลดลงเป็นการลดความเสียหายจากการเป็นโรคนี้อีก วิธีหนึ่ง  การตรวจตราต้นมะม่วงอยู่เสมอ ๆ จะช่วยให้สามารถเห็นลักษณะอาการของโรคได้ตั้งแต่ยังเป็นไม่มาก  ซึ่งทำให้การบำบัดรักษาทำได้ง่ายโดยการถากเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วทาด้วยยากันราพวกสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์(copper oxychloride) ในบริเวณที่มีโรคระบาดมากอาจจะใช้ยาดังกล่าวทาหรือฉีดพ่นตามกิ่งที่อยู่ใกล้ กับกิ่งเป็นโรค

มะม่วง โคก เปา แป โตร้ก สะเคาะ หมักโม่ง มั่งก้วย

มะม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera indica Linn.

ชื่อวงศ์

ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ

Mango Tree

ชื่อท้องถิ่น

  • ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน
  • กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก
  • จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก
  • นครราชสีมา เรียก โตร้ก
  • มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา
  • ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป
  • กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า
  • เขมร เรียก สะวาย
  • เงี้ยว-ภาคเหนือ เรียก หมักโม่ง
  • จีน เรียก มั่งก้วย

ลักษณะทั่วไป

มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด ผล ผล ยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด

การปลูก

มะม่วงควรปลูกในหน้าฝนเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ปลูกกลางแจ้ง การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง

สรรพคุณทางยา

  • ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
  • ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
  • ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
  • เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
  • เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน

คติความเชื่อ

มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น
มะม่วง

ถาม-ตอบเกี่ยวกับการปลูกมะม่วง


ดร.อาวุธ ณ ลำปาง
ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยพืชไร่บางเขน
คุณสุรชัย  รอดเกษม  ธกส.อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

ถาม
1.  จะบำรุงต้นและใบมะม่วงอย่างไร  ให้มีช่อดอกมาก และให้ปุ๋ยอะไร ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยคอก
ตอบ
1. มะม่วง จะมีช่อดอกมาก ต้องปล่อยให้ดินแห้ง(ไม่รดน้ำ) ในเดือนธันวาคม ถ้ามี อากาศเย็นมากระทบประมาณ 10-15 วัน ช่อดอกจะออกเต็มดูสะพรั่ง
ปัญหาต่อไป อยู่ตรงที่ว่า ทำอย่างไรผลจึงจะติดดี  ระยะที่ดอกตูม จะต้องผสมยากำจัดเชื้อราและยาฆ่าแมลงอ่อน ๆ ฉีดพ่นตามช่อ สัก  2-3 ครั้ง  เมื่อมะม่วงติดเป็นผลเล็ก ๆ ขนาดเท่าเม็ดถั่ว ต้องค่อย ๆ รดน้ำ เข้าโคนต้น  และฉีดพ่นช่อช่วยทีละน้อย ๆ ผลจะขยายตัวโต และสมบูรณ์ดี
มะม่วงจะติดผลดีหรือไม่นั้น  ยังขึ้นอยู่กับการให้ปุ๋ยบำรุงรักษาต้นให้ สมบูรณ์อีกด้วย ชาวสวนนิยมให้ปุ๋ยแก่ต้นมะม่วงปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรก ต้นฤดูฝน ครั้งหลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว
ปุ๋ยที่ให้มีทั้งปุ๋ยคอกต่าง ๆ และปุ๋ยเคมี ส่วนมากปุ๋ยเคมีที่ให้เป็นปุ๋ยสมบูรณ์ (ปุ๋ยที่มีธาตุ เอ็น-พี-เค ครบทั้ง 3 ตัว)  ถ้าต้องการบำรุงใบ ก็ให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตัวหน้าสูง บำรุงทั่ว ๆ ไป ก็ให้ปุ๋ยสูตรเท่า (ธาตุอาหารทั้งสามมีเปอร์เซ็นต์ธาตุเท่ากัน) บำรุงต้น ราก และผล ให้ปุ๋ยที่ธาตุอาหาร ตัวกลาง และตัวหลังสูง

ถาม
2.  เมื่อมะม่วง  ออกดอกกำลังบาน ควรฉีดยาหรือปุ๋ยอะไรดี?

ตอบ
2.  ดอกมะม่วงกำลังบาน เราจะไม่ ฉีดทั้งยาและปุ๋ย  อาจจะพ่นละอองน้ำไปช่วยไม่ให้ช่อแห้งเหี่ยว

ถาม
3.  เมื่อดอกบานแล้วมีลูก  จะทำอย่างไรไม่ให้ลูกร่วง
ตอบ
3.  ค่อย ๆ เพิ่มน้ำให้โคนต้น และอาจใช้ปุ๋ยทางใบฉีดพ่นยอด ก็พอจะลดการร่วงลงได้บ้าง  แต่ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์  ทั้งนี้เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของต้น และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย เช่น ลมแรง

รศ.สุนทร  ปุณโณทก

ชื่อมะม่วงหรือนี่...

ช่วงนี้มีมะม่วงหลากหลายพันธุ์ให้เลือกทานได้ตามสะดวก ราคาย่อมเยา ทั้งอร่อยหวานมันและเปรี้ยวจี๊ด ... ทำให้นึกถึงกลอนที่เคยได้รับจากท่าน พระครูสุธรรมนาถ เจ้าอาวาส วัดปลักไม้ลาย ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน
 
 
ท่านพระครูสุธรรมนาถ
     ท่านพระครูสุธรรมนาถ ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 ด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งนอกจากจะมีความรู้ด้านสมุนไพรไทยอย่างดีแล้ว ท่านยังได้อนุรักษ์พืชพันธุ์ชนิดต่าง ๆ  ทั้งไม้หายาก ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร ท่านมีตำรายาโบราณ ชื่อพันธุ์ไม้โบราณ และชื่อมะม่วงโบราณ ซึ่งเมื่อครั้งได้รับกลอนนี้มานั้น คนไม่มีรากเกือบไม่เชื่อว่าเป็นชื่อมะม่วง ท่านเล่าว่าปัจจุบันมะม่วงโบราณบางชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว...
 
ชื่อมะม่วงนี้ผูกไว้เป็นกลอน ที่เป็น ตัวหนังสือสีม่วง เป็นชื่อมะม่วงค่ะ ไม่แน่ใจว่ามีการพิมพ์ผิดตกบ้างหรือเปล่า ... ลองดูนะคะ
 
 
 
Dsc03350
        ขอบคุณภาพมะม่วง จาก ครูมิม ค่ะ


พันธุ์มะม่วง
 
 
     จักกล่าวพันธุ์มะม่วง               ท่านทั้งปวงจงรู้ความ
มะม่วงเมืองสยาม                        จะนับนามอเนกนัก
จะจักที่จำได้                             พอคนไทยแจ้งประจักษ์
มีหลากโดยเลิศลักษณ์                 ประเภทพรรคอัมพาผล

     พิมเสนมีดาษดื่น                เป็นภาคพื้นทุกตำบล
รู้จักแทบทุกคน                          ยังประดนพิมเสนมัน
หมอนทอง อกร่องรส                 หวานปรากฏรสสวรรค์
แมวเซามีสองพรรณ                   แมวเซาขาว แมวเซาดำ

     พรวนขออีกพรวนควาย       แก้วแก้วกลายมีประจำ
ควันเทียนแลทองคำ                  มะลิอ่อง ทองปลายแขน
น้ำตาลปากกระบอก                  ขานนามออกทุกดินแดน
มะม่วงนายขุนแผน                      ปลูกเมื่อทับกลับคืนมา

     การเกดอีกไข่ไก่                ทุกเรียนใหญ่สังขยา
ลิงโลดมะลิลา                           แก้วลืมรังหนักลางวัน
กระสวยรสสนิท                         อินทรชิตทศกรรฐ์
แขนอ่อนอีกนวลจันทร์                น้ำตาลจีนเทพรำจวน

     ไข่เหี้ยไข่นกกระสา             กระล่อนป่า กระล่อนสวน
อีกสาวละห้อยหวน                     สาวสะกิดมารดาดู
มะม่วงเทพรำลึก                        แขกขายตึกอีกคราบหมู
กะละแมมีช่อชู                          หนึ่งชื่อว่าชาละวัน
 
     ม่วงพราหมณ์ขายเมียนี้        ดูท่วงทีรสขยัน
เมียรักดังชีวัน                             ยังสู้ขายจ่ายอัมพา
ม่วงสาวกระทืบหอ                      นี้ก็ส่อรสโอชา
สาวอยากจะโภชา                       จนโกรธากระทืบเรือน
 
     มะม่วงพิมเสนสวรรค์            ชื่อทั้งนั้นไม่มีเหมือน
ล่วงชั้นตะวันเดือน                       ถึงสวรรค์ชั้นวิมาน
มะม่วงชื่อรำพึง                          คนคะนึงด้วยรสหวาน
ม่วงเศียรคชสาร                        อีกม่วงบ้านมะม่วงเนย
 
     กระแตลืมรังเรียก                โดยสำเหนียกตามเคย
ค้างคาวลืมลูกเลย                     หลงกินเพลินเนิ่นนานวัน
ทองขาว ทองดำดู                    ขึ้นเป็นคู่แข่งเคียงกัน
แก้วขาว แก้วดำปัน                   เป็นระยะคละกันไป
 
     สุวรรณหงส์เห็น                  แต่เขาเล่นละคอนไทย
เป็นม่วงเสียเมื่อไร                       อยากใคร่รู้ดูหงส์ทอง
โสนน้อยผะอบนาก                    เจ้าเงาะหลากเพื่อนทั้งผอง
กระบุ่ม กระเบาปอง                   เป็นเหมือนเงาะเยาะรจนา
 
     มะม่วงชื่อการเวก                 นามนกเอกในเวหา
หอยแครงแลแตงกวา                หัวกิ้งก่า เหนียงนกกระทุง
คิ้วนางดูน่ากิน                          เทพสินเหมือนชื่อกรุง
แลเห็นเป็นหมู่มุง                        ม่วงสาวน้อยเยี่ยมห้องหวน
 
     หัวโตต้นต่ำเตี้ย                    ผัวตีเมียร้องไห้ครวญ
สาวน้อยสีน้ำนวล                      สาวรัญจวนสาวสวรรค์
มะม่วงผัวพรากเมีย                    คิดน่าเสียใจครันครัน
แก้วพรากแม่จากกัน                  รสสำคัญเห็นรุนแรง
 
     สาริกาลืมรังอยู่                   วัดวังคู่กับแก้มแดง
ม่วงกระกระแอมแฝง                    มะม่วงแฟบแอบพุดไทย
สาวตบอุราร่ำ                           ด้วยระกำจะจำไกล
จากม่วงของชอบใจ                     ตบอุราน่าสงสาร
 
     มะตูมอีกตับเป็ด                 หวานมันเด็ดดุจน้ำตาล
อ้ายฮวบใหญ่ใครไม่ปาน             สับสำปั้น น้ำตาลทราย
มะม่วงเขียวสะอาด                     กำเนิดชาติพิมเสนกลาย
มะม่วงกระจิบลาย                      อีกม่วงล่าหมาไม่แล
 
     ม่วงสาวกระทืบยอด             เดิมนางรอด บุตรตาแห
เดินไปไม่ทันแล                        เหยียบม่วงเล็กเด็กว่าขาน
ม่วงนั้นครั้นใหญ่มา                      ดกระย้าใครจะปาน
จึงตั้งนามขนาน                          กระทืบยอดรอดบาทา
 
     มะม่วงกำมะลอ                    สาเกก่อเป็นสมญา
เทพรสรสโอชา                         อัมพาดื่นพ้นดินดอน
เหลือจะร่ำไห้สุด                         ชื่อสมมตินามกร
นักเรียนพึ่งแรกสอน                     อ่านกลอนเล่นเป็นสำราญ.
 
 
                       ของฝากจากพระครูสุธรรมนาถ 
      วัดปลักไม้ลาย จังหวัดนครปฐม


ทานมะม่วงกันให้อร่อยนะคะ.....
                           (^___^)

นมัสการขอบพระคุณท่านพระครูสุธรรมนาถ
ขอบคุณภาพประกอบจาก ครูมิม
ขอบคุณ คุณกวิน ที่ทำให้เขียนบันทึกนี้

มะม่วงป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม


อาจจะถึงเวลาที่ต้องเพิ่มมะม่วงในรายชื่ออาหารชั้นเยี่ยม

เพราะนอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยแล้ว ยังเป็นผลไม้ที่มีเส้นใย โพแทสเซียม และวิตามินซีสูงอีกด้วย และในขณะนี้ การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ค้นพบว่ามะม่วงอาจช่วยป้องกัน หรือทำลายเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมได้

         การศึกษาจัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์อาหารจากศูนย์วิจัย Texas AgriLife โดยทำการทดสอบสารสกัดโพลีฟีนอลในมะม่วง (สารธรรมชาติที่พบในพืช ซึ่งเชื่อว่าช่วยส่งเสริมสุขภาพ) กับเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมลูกหมากในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากมะม่วงมีผลต่อมะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมากบ้างเล็กน้อย แต่กลับมีประสิทธิภาพมากกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยสามารถทำให้เซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ตายได้ รวมทั้งยังไม่ทำอันตรายกับเซลล์ที่ดี ซึ่งอยู่ติดกับเซลล์มะเร็งด้วย
        จากผลการศึกษานี้ นักวิจัยวางแผนต่อไปว่าจะทำการทดลองเล็กๆ ทางคลินิกกับอาสาสมัครที่มีการอักเสบของลำไส้เล็ก และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เพื่อดูว่ามีผลทางคลินิกหรือไม่?
         สำหรับประโยชน์ของมะม่วงนั้น นอกจากมีวิตามินซีสูงแล้ว ยังมีวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) และมีวิตามินอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น วิตามินอี บี และเค ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นสำหรับหัวใจ ช่วยให้หัวใจแข็งแรง และยังอุดมไปด้วยเส้นใย ช่วยรักษาอาการท้องผูกและกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่แข็งเกร็งได้อีกด้วย

มะม่วง…ผลไม้คู่แม่ท้อง

มะม่วง…ผลไม้คู่แม่ท้อง


หากพูดถึงผลไม้ยอดนิยมของว่าที่คุณแม่แล้ว ?มะม่วง’ คงจะเป็นผลไม้อันดับต้นๆ ที่นึกถึง เพราะเป็นผลไม้ที่มีหลากรสทั้งเปรี้ยวหรือหวาน นอกจากจะอร่อยแล้วยังมากด้วยคุณค่าด้วยค่ะ
ในมะม่วงอุดมด้วยสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะกินแบบดิบหรือสุกก็ได้คุณค่าไม่แพ้กัน
* ฟอสฟอรัสและแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันของคุณแม่ให้แข็งแรง ไม่เปราะหรือหักง่าย และยังช่วยในการสร้างกระดูกและฟันให้กับทารก
* วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคหวัด เลือดออกตามไรฟัน
* วิตามินบี 1 ป้องกันอาการเหน็บชา และตะคริว
* วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
* เบตาแคโรทีน บำรุงผิวพรรณให้ผ่องใส และช่วยบำรุงดวงตาให้สดใส
* เส้นใย ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ป้องกันอาการท้องผูกหรือริดสีดวงทวารระหว่างตั้งครรภ์

มะม่วงดิบ…มะม่วงสุก
ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงดิบหรือมะม่วงสุกก็มีปริมาณน้ำตาลเท่าๆ กัน แต่จะอยู่ในรูปของแป้งและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเมื่อตอนสุกแล้ว ดังนั้น มะม่วงดิบจะมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า ส่วนมะม่วงสุกมีน้ำตาล ผลไม้และเบตาแคโรทีนมากกว่า? แม้ว่ารสเปรี้ยวของมะม่วงดิบจะ ช่วยแก้อาการแพ้ท้องและคลื่นไส้อาเจียนได้ แต่หากกินในปริมาณมากเกินไปร่วมกับเครื่องเคียงต่างๆ เช่น กะปิ น้ำปลาหวาน อาจทำให้คุณแม่ปวดท้องหรือท้องเสียได้ จึงควรระมัดระวัง? สำหรับมะม่วงสุกนั้น นอกจากจะมีรสหวานจากน้ำตาลผลไม้ที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่นแล้ว ยังสามารถใช้บำรุงผิวหน้าได้ โดยการนำไปปั่นแล้วนำมาพอกหน้า สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ซึ่งในมะม่วงสุกมีวิตามินซีมากกว่ามะนาวถึง 3 เท่า จะช่วยให้ผิวหน้าเรียบ นุ่ม ชุ่มชื่นและสดใสด้วย
แพ้ท้องต้องกินเปรี้ยว?? ใน ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงสร้างรกทำให้ร่างกายของคุณแม่เปลี่ยน อาจมีอาการแพ้ท้อง ซึ่งในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงคือความอยากอาหาร เช่น อยากกินรสเปรี้ยว ของหวาน อาหารหมักดอง หรือของแปลกๆ แต่รสเปรี้ยวมักจะเป็นรสชาติพื้นๆ ที่คุณแม่มักจะเอ่ยถึงในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งถ้าไม่กินรสเปรี้ยวจัดจนไปกระตุ้นการกัดของกระเพาะอาหารก็สามารถกินได้ และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับการตั้งครรภ์

มะม่วง



มะม่วงเป็น ผลไม้ที่พวกเรารู้จักกันดีและนิยมปลูกกันมาก เพราะมะม่วงสามารถ แปลรูปได้หลายอย่าง เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง มะม่วงกวน มะม่วงดอง ฯลฯ ทั้งอีกอย่างมะม่วงไทยเราสามารถส่งออกเอเชียเราได้หลายประเทศ มะม่วงยังสามารถสร้างอาชีพให้คนไทยได้มากมายเลยที่เดียว มะม่วงเป็นพืชยืนต้นที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง ยังคงทนกับสภาพทนทุกฤดูกาลได้ เรามีเคล็ดลับดีๆ แนะนำ


1.มะม่วงมีหลากหลายสายพันธุ์ มีมากกว่า 150 สายพันธุ์เลยทีเดียว แต่แบ่งออกตามลักษณะคุณประโยชน์แต่ล่ะชนิด

1.1คือ มะม่วงประเภทกินดิบ เช่น ฟ้าลั่น เขียวเสวย  พิมเสนมัน  แรด  เป็นต้น
1.2.คือ มะม่วงประเภทกินสุก เช่น น้ำดอกไม้  ทองดำ  อกร่อง  เป็นต้น
1.3.คือ มะม่วงประเภทสำหรับบรรจุกระป๋อง เช่น โชคอนันต์  แก้ว  สามปี  เป็นต้น

2.ดิน
ดินที่มะม่วงสามารถเติบโตได้ดี คือ ดินร่วน  ดินร่วนเหนียว  ดินร่วนปนทราย ที่สามารถระบายอากาศได้ดีและมีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุที่เพียงพอ อีกด้วย

3.สภาพภูมิอากาศ
มะม่วงจะชอบอากาศที่ร้อน สามารถทนอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดีมากได้ดีมาก ในประเทศไทยจึงสามารถปลูกมะม่วงได้ดี

4.น้ำ และ ลม
ถึงมะม่วงชอบอากาศที่ร้อง แต่ยังต้องการน้ำเพื่อเลี้ยงลำต้นเพื่อนำอาหาออกสู่ ดอกและใบของมัน เพื่อการเติบโตของมันได้ดียิ่งขึ้น     ลมจะเป็นปัญหาอย่างมากของต้นมะม่วง เมื่อมะม่วงออกดอกลมสามารถัดพาดอกของมะม่วงร่วงล่นได้แล้วจะทำให้ผลมะม่วง ไม่ค่อยติด และเมื่อมะม่วงโตแล้ว ลม ยังสามมารถทำให้ผลมะม่วงล่นเสียหาได้อีกด้วย

5.ระยะเวลาการปลูก
การปลูกมะม่วง เมื่อมะม่วงอายุครบที่จะสามารถออกผลผลิตได้ เมื่อต้นมะม่วงออกดอก ประมาณ พฤษภาคม-มิถุนายน แล้วจะเก็บเกี่ยวผลที่ กันยายน แล้วถ้าดอกดอกเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน จะเก็บเกี่ยวผลที่ เดือนมีนาคม…